วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

การแต่งกายไปสัมภาษณ์




เสริมเสน่ห์... การแต่งกายไปสัมภาษณ์งาน

การแต่งกายไปสมัครงานหรือสอบสัมภาษณ์ อาจมองดูเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณสาวๆ ที่เจนเวทีทั้งหลายที่ทราบว่าจะเลือกเสื้อตัวนี้ให้เหมาะกับกระโปรงตัวนั้นผมต้องทำทรงนี้ เครื่องประดับต้องใส่ชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่จึงจะดูดี มีบุคลิกที่เป็นตัวของตัวเองแต่ยังมีคุณสาว ๆ อีกไม่น้อยที่อาจจะนึกภาพไม่ออกว่าควรแต่งกายอย่างไรดี หรือในบางคนก็มั่นใจใส่กระโปรงสั้นผ่าหน้าผ่าหลัง เสื้อรัดรูปโชว์หุ่นอันแบบบาง ขอบอกว่าไม่ควรค่ะไม่ควร ผู้รับสมัครอาจมองว่าคุณหุ่นดี แต่ในใจอาจตำหนิว่าที่นี่ไม่ใช่เวทีแคทวอล์คของนางแบบหรือบรรดานางงามทั้งหลาย นั่นอาจจะทำให้คุณพลาดโอกาสอันงามไปโดยไม่รู้ตัว ความมั่นใจน่ะมีได้เป็นสิ่งที่ดี แต่ทั้งนี้อย่ามองข้ามกาลเทศะไปเชียวนะ


1. ชุดที่สวมใส่ควรเป็นชุด 2 ชิ้น แยกท่อนบน ท่อนล่าง จะดูเป็นทางการและทะมัดทะแมงมากกว่าชุดแซ็คชิ้นเดียวนะคะ


2. ชุดที่สวมใส่ควรเป็นชุด 2 ชิ้น แยกท่อนบน ท่อนล่าง จะดูเป็นทางการและทะมัดทะแมงมากกว่าชุดแซ็คชิ้นเดียวนะคะ
ถ้าหากสถานที่ที่คุณไปสมัครนั้น เป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่ค่อนข้างมีพิธีรีตรองมาก เสื้อเชิ้ตเรียบ ๆ ตัวเดียวอาจจะยังไม่ดูเป็นทางการพอ แนะนำให้สวมทับด้วยสูทหรือแจ็คเก็ตผ้าแบบเรียบ ๆ (ที่ไม่ใช่ผ้ายีน) สีดำ สีเทา สีเบจ หรือสีครีม จะช่วยเน้นบุคลิกภาพที่เรียบสง่าและดูดี



3. ไม่ควรเป็นสูทตัวโคร่ง ๆ แนะนำให้เลือกสูทเข้ารูปแบบเก๋ ๆ สักตัว จะทำให้คุณดูเป็นสาวมาดมั่นมากกว่าสูทตัวโคร่งสำหรับสาวโบราณอย่างแน่นอนค่ะ


4. พวกรองเท้าสวมเปลือยส้นไม่มีสายรัดข้อเท้าเก็บใส่กล่องเอาไว้ก่อน หันมาสวมรองเท้าคัชชูปิดนิ้วเท้า จะเป็นการสุภาพกว่าหลายท่านอาจร้องยี้ว่าเหมือนคุณครู ไม่จริงหรอกค่ะเดี๋ยวนี้แบบเรียบแต่มีสไตล์วางจำหน่ายอยู่ดาษดื่น ลองเลือกสวมใส่กันดูนะคะ


5. กระเป๋าควรเลือกที่ดูไม่แฟชั่นจนเกินไป ใบไม่ใหญ่เกินพอดี เพราะอาจทำให้ดูเกะกะไม่คล่องตัว ที่สีสันแสบสุดเก็บไว้ใช้ในงานปาร์ตี้จะดีกว่า ควรเลือกโทนสีขรึมจะช่วยให้คุณดูน่าเชื่อถือไม่น้อยทีเดียวค่ะ


6. เครื่องประดับประเภทห้อยระย้า หรือห่วงใหญ่จนเกินงาม อาจทำให้คุณดูเปรี้ยวจี๊ดมั่นมาดได้ก็จริงอยู่ แต่ถ้าหากจะให้ดูดีเหมาะแก่การไปสมัครงานคงไม่ต้องอลังการมาก แค่เล็ก ๆ แต่ดูดีมีสไตล์ ก็สามารถเอาชนะใจผู้รับสมัครงานไปเกินร้อยแล้วล่ะค่ะ


7. ที่สำคัญคำพูด คำจา ให้อ่อนหวาน อ่อนน้อม ฉลาดฉะฉานในการสนทนา อย่าลืมยกมือไหว้ทักทายกัน จะยิ่งเป็นการเสริมเสน่ห์ให้ตัวคุณอีกแบบเต็ม

โปรแกรมระบบจัดเก็บเอกสาร





โปรแกรมระบบจัดเก็บเอกสาร

E - Document Management System


โปรแกรมระบบจัดการเอกสาร E-Document Management System เป็นระบบที่ใช้ใน การจัดการ จัดเก็บ เอกสาร ในรูปแบบของไฟล์ (Digital File) ผ่านระบบเครือข่าย (Network) ผ่าน Web-Based Application โดยมีการจำลองโครงสร้างการจัดเก็บเสมือนจริง ประกอบด้วย ตู้, ลิ้นชัก, แฟ้ม และ แฟ้มย่อย ซึ่งสามารถสร้างได้ไม่จำกัด ทั้งยังรองรับการนำเข้าทั้งรูปแบบไฟล์ (Digital File) และการนำเข้าผ่านเครื่องแสกน High Speed Scanner (Hard Copy) เพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นคว้าเอกสาร สามารถใช้งานพร้อมกันได้ในเวลาเดียวกัน สะดวกในการสืบค้นข้อมูล รองรับการสืบค้นข้อมูลในเนื้อหาของเอกสาร และมีระบบจัดการความปลอดภัย โดยมีการเข้ารหัสไฟล์เอกสารบนเครื่องแม่ข่าย (Server) และ การกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงในระดับต่าง ๆ สามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มได้ ดังนี้


ระบบจัดเก็บเอกสาร (Document Filing Management )

* จัดเก็บไฟล์เอกสาร Microsoft Word (.doc), Microsoft Excel (.xls), Microsoft PowerPoint (.ppt), Text File (.txt), Adobe Acrobat File (.pdf), ไฟล์รูปภาพ JPG, JPEG, TIFF, PDF และไฟล์มัลติมีเดีย Mpeg, MPG, AVI, MP3

* นำเข้าเอกสารได้ทั้งแบบไฟล์ (Digital File) และนำเข้าผ่านเครื่องแสกน High Speed Scanner (Hard Copy)

* กำหนดอายุและต่ออายุของเอกสาร รวมทั้งมีการแจ้งเตือนเมื่อเอกสารใกล้หมดอายุ

* กำหนดดัชนี, รายละเอียดของเอกสาร และคำสำคัญควบคู่กับการนำเข้าเอกสาร เพื่อสะดวกในการสืบค้นเอกสาร

* กำหนดสิทธิ์ให้เป็นเอกสารเฉพาะกลุ่ม (Private Doc) หรือเอกสารสาธารณะ (Public Doc)

* จัดเก็บเวอร์ชั่นเอกสารที่มีการเปลี่ยนแปลง (Version Control) และกู้คืนได้


ระบบค้นหาสืบค้นเอกสาร (Document Search Engine Management )

* สืบค้นตามโครงสร้างการจัดเก็บเอกสาร จากชื่อ และข้อมูลประกอบของเอกสาร

* สืบค้นจากเนื้อหาของเอกสาร สามารถสืบค้นได้จากไฟล์ประเภทเอกสาร เช่น Microsoft Word (.doc), Microsoft Excel (.xls), Microsoft PowerPoint (.ppt), Text File (.txt), Adobe Acrobat File (.pdf) เป็นต้น


ระบบรักษาความปลอดภัยเอกสาร (Document Security Management)

* เข้ารหัสไฟล์เอกสารที่อยู่บนเครื่องแม่ข่าย (Server)

* กำหนดสิทธิ์การใช้งานตามโครงสร้างการจัดเก็บเอกสาร

* กำหนดสิทธิ์การเข้าถึงโครงสร้างการจัดเก็บเอกสารของกลุ่มผู้ใช้ และผู้ใช้

* เก็บประวัติการเข้าสู่ระบบและการใช้งานต่าง ๆ ของผู้ใช้ (Log file)


การจัดการควบคุมและดูแลระบบ (Document Administration Console)


* จัดการกลุ่มผู้ใช้และผู้ใช้ได้ไม่จำกัด

* จัดการโครงสร้างการจัดเก็บเอกสารและจัดการพื้นที่ (Smart Space) ของโครงสร้างการจัดเก็บในแต่ละลำดับ

* ต่อเวลาเอกสารหมดอายุและกู้คืนไฟล์เอกสารที่ถูกเปลี่ยนแปลง (Version Control)

* สำรอง (Backup) ไฟล์เอกสาร เพื่อป้องกันไฟล์เอกสารมีปัญหา และ โอนย้ายไฟล์เอกสาร (Movement) เพื่อลดพื้นที่การจัดเก็บ (Space Size) ของโครงสร้างการจัดเก็บเอกสาร

* แสดงรายงานและสถิติ

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551

อาหารบำรุงสายตา

อาหารบำรุงสายตา



ที่มาของการมีสุขภาพที่ดีคือการพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ และรับประทานอาหารให้ร่างกาย ได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วน รวมไปถึงการบำรุงรักษาสายตา ก็จำเป็นต้องรับประทานอาหารที่ให้คุณค่า เพิ่มวิตามินเอให้
กับร่างกายซึ่งทำได้ไม่ยาก เพียงบริโภคผักและผลไม้ให้พอเหมาะ เป็นประจำทุกวันอาหารที่บำรุงสายตาแหล่งอาหารได้มาจากวิตามิน A มากซึ่งเราจะพบได้ในผลิตผลจากสัตว์เช่น ตับ, ไข่แดง, นม, น้ำมันสกั
ดจากตับปลา หรือพืชที่มีสารสีเขียวจัด สีแสด สีเหลือง เช่น ผักบุ้ง, มะละกอ, ฟักทอง, ผักตำลึง, บล็อคโคลี่, แครอท, มะม่วงและอีกมากมายความต้อง
การของร่างกายใน 1 วันไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ มีความต้องการวิตามิน A ไม่ว่าจากพืชหรือสัตว์ซึ่งได้จาก


เด็ก • ต้องการอาหารที่ช่วยบำรุงสายตาเช่นตับไก่, ตับหมู, แครอท, ฟักทอง, ไข่แดง, ผักตำลึง, ผักโขม, ปูทะเล, ผักคะน้าและเนย

ผู้ใหญ่ • ความต้องการอาหารที่ช่วยบำรุงสายตา เช่น ใบยอ, ตับไก่, ใบแมงลัก, ตับวัว, ใบโหระพา, ใบบัวบก, ผักชะอม, ผักกระถิน, พริกขี้หนู, มะม่วงสุก, ผักบุ้ง, มะละกอ


ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่โดยเฉพาะอาหารต่อไปนี้ข้าวซ้อมมือ, ปลา, ตับ, เนื้อไก่, ผักสดและผลไม้ และรวมทั้งวิตามินต่างๆ ที่จำเป็นในการรักษาดวงตา

พาณิชย์อิเล็กทรอนิคส์ ( E- Commerce )




พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)


พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Commerce) หรืออีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) เริ่มขึ้นเมื่อประมาณต้นทศวรรษที่ 1970 โดยเริ่มจากการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างหน่วยงาย และในช่วงเริ่มต้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องส่วนใหญ่จะเป็นบริษัทใหญ่ๆ เท่านั้น บริษัทเล็กๆ มีจำนวนไม่มากนัก ต่อมาเมื่อการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Interchange-EDI) ได้แพร่หลายขึ้น ประกอบกับคอมพิวเตอร์พีซีได้ม ีการขยายเพิ่มอย่างรวดเร็วพร้อมกับการพัฒนาด้านอินเทอร์เน็ตและเว็บ ทำให้หน่วยงานและบุคคลต่าง ๆ ได้ใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มากขึ้น ในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้ครอบคลุมธุรกรรมหลายประเภท เช่น การโฆษณา การซื้อขายสินค้า การซื้อหุ้น การทำงาน การประมูล และการให้บริการลูกค้า
ความหมาย พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หมายถึง การทำธุรกรรมทุกรูปแบบโดยครอบคลุมถึงการซื้อขายสินค้า/บริการ การชำระเงิน การโฆษณาโดยผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่าง ๆ โดยเฉพาะเครือข่ายทางอินเทอร์เน็ตกรอบแนวคิดของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์


ประเภทสินค้าของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สำหรับสินค้าที่ซื้อขายในพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จำแนกได้ดังนี้

· สินค้าที่มีลักษณะเป็นข้อมูลดิจิทัล (Digital Products)
· สินค้าที่ไม่ใช่ข้อมูลดิจิทัล (Non-Digital Products)

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มี 4 ประเภทหลัก ๆ คือ

· ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business หรือ B to B)
· ธุรกิจและลูกค้า (Business to Consumers หรือ B to C))
· ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government หรือ B to G)
· ลูกค้ากับลูกค้า (Consumers to Consumers หรือ C to

สำนักงานอิเลคทรอนิคส์

สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office)



สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) คือ การใช้เทคโนโลยีระบบคอมพิวเตอร์ และ เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อปฎิบัติงานทั่วไป งานประจำวัน อย่างเช่น การจัดการเอกสาร จดหมายอิเล็คโทนิค การเก็บรักษาและแก้ไขกลุ่มข้อความ กลุ่มรูปภาพ งานทางบัญชี และ อื่น ๆ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ ยังรวมถึงระบบ เครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรมที่สามารถใช้ประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย



ระบบสำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) รวมถึง ระบบข้อมูลสำนักงานอัตโนมัติ เป็นระบบที่มีจุดประสงค์หลัก คือ การอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสาร ระบบเช่นนี้เป็น การนำเครื่องมือ เครื่องใช้ หลาย ๆ อย่าง รวมเข้าด้วยกัน, ใช้งานร่วมกัน, เก็บรักษา, นำไปใช้ และกระจายข้อมูล ระหว่างผู้ร่วมงาน แต่ละคน , ทีมงาน และธุรกิจ นั้น ทั้งภายใน และภายนอกองค์กร ตัวอย่างของเครื่องมือ สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ เช่น เวิร์ดโปรเซสซิ่ง, เครื่องพิมพ์แบบตั้งโต๊ะ, อีเมลล์, วอยซ์เมลล์, เครื่องแฟกซ์, มัลติมีเดีย, คอมพิวเตอร์ คอนเฟอร์เรนซิ่ง และ วิดิโอคอนเฟอร์เรนซิ่ง


หลายปีที่ผ่านมา สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) ถูกมองว่า มีเพียงหน้าที่แก้ปัญหาในการทำงาน แต่ในปัจจุบัน ระบบที่ช่วยเสริมการติดต่อ สื่อสารในสถานที่ทำงาน ถูกมองว่ามีความสำคัญ และต้องได้รับการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ในระดับเดียวกับระบบ TPS, MIS และ ISS
สำนักงานอิเลคทรอนิคส์ (E-Office) ในปัจจุบัน ดูเหมือนกับไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นได้จริง ๆ แตกต่างจากสำนักงานที่ใช้เพียงเครื่องจักรกล เมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเครื่องพิมพ์ดีด, เครื่องยนต์ กลไล และ ระบบไปรษณีย์ เป็นความหมายหลักของการติดต่อสื่อสาร ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีเรื่องน่าทึ่งที่ยังรอคอยเราอยู่ เรากำลังจะได้เริ่มเห็นบทบาทของ บริษัทเสมือนจริง ซึ่งสามารถทำให้ เราทำงานได้ในทุกแห่ง ปราศจากข้อจำกัดด้านพื้นที่